การอั้นปัสสาวะบ่อยๆ ทำให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่?
23 Jul, 2021 / By
salacrm01
การอั้นปัสสาวะบ่อยๆ ทำให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่?
การอั้นปัสสาวะ กับ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ทำไมการอั้นปัสสาวะถึงสัมพันธ์กับการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากโดยปกติร่างกายมีกลไกป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะคือ การขับปัสสาวะออกสู่นอกร่างกายในปริมาณเหมาะสมและสม่ำเสมอ จะช่วยขับเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนออกสู่นอกร่างกาย การอั้นปัสสาวะจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เพราะสาเหตุสำคัญของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะคือ แบคทีเรีย หรือที่เราเลือกว่าจุลินทรีย์ที่ดีที่อยู่ในร่างกายเราแต่อยู่ผิดตำแหน่ง เคลื่อนที่จากลำไส้มาปนเปื้อนที่รูก้น และเข้าสู่ท่อปัสสาวะ หลังจากนั้นเคลื่อนที่ขึ้นไปตามท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
แต่..ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้ติดเชื้อไม่ได้มีเพียงแค่การอั้นปัสสาวะยังมีปัจจัยอื่นๆที่สำคัญคือ
- การมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะคู่นอนคนใหม่
- การใช้น้ำยากำจัดอสุจิ
- ประวัติโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในตอนเด็ก
- การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ที่ทางเดินปัสสาวะเมื่อวัยหมดประจำเดือน
- การดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อวัน (8-12 แก้ว)
- การสวนล้างช่องคลอด รวมไปถึงการเช็ดทำความสะอาดที่ผิดทางเมื่อปัสสาวะเรียบร้อย (เช็ดจากรูทวารมาท่อปัสสาวะ)
อาการแสดงของโรคเมื่อติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ
- ปวด แสบ เมื่อปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 6 ครั้งในตอนกลางวัน หรือบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน)
- ปัสสาวะกลางคืน (มากกว่า 2 ครั้ง)
- ปัสสาวะเร่งรีบไม่สามารถเลื่อนการปัสสาวะ หรือไปปัสสาวะเกือบไม่ทัน
- รู้สึกมีปัสสาวะค้างหรือมีอาการหน่วง ๆ บริเวณหัวเหน่าเมื่อปัสสาวะเสร็จ
- มีเลือดปนในปัสสาวะ
*** หากมีไข้และปวดหลังบริเวณสีข้าง มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
การรักษา
การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค โดยการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะส่วนใหญ่เป็นโรคที่ไม่รุนแรง สามารถใช้ยาปฏิชีวนะรูปแบบกิน ระยะเวลาในการรักษา 3-7 วัน ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 48-72 ชั่วโมง เช่น มีไข้ลดลง ปัสสาวะแสบขัดลดลง
การป้องกันแบบไม่ใช้ยา
การป้องกันส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปทางไม่ใช้ยาเนื่องจากการใช้ยามีโอกาสทำให้เกิดเชื้อดื้อยามากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการปรับพฤติกรรม คือ การดื่มน้ำให้มากขึ้นต่อวัน การไม่อั้นปัสสาวะ การชัดทำความสะอาดหลังปัสสาวะอย่างถูกต้อง การไม่สวนล้างช่องคลอดหรือใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป รวมไปถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างแครนเบอร์รี่ที่มีสารป้องกันการจับตัวของเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินปัสสาวะ อาจช่วยลดการกลับมาเป็นซ้ำได้ และการรับประทานโพรไบโอติกส์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ตัวร้ายมาจับที่บริเวณทางเดินปัสสาวะและสร้างสารที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออาจช่วยป้องกันการเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้
จัดทำโดย
ภก.ภูรินทร์ ศรีสุยิ่ง
อ้างอิง
1.alpana Gupta, Thomas M. Hooton, Kurt G. Naber, Björn Wullt, Richard Colgan, Loren G. Miller, Gregory J. Moran, Lindsay E. Nicolle, Raul Raz, Anthony J. Schaeffer, David E. Soper. International Clinical Practice Guidelines for the Treatment of Acute Uncomplicated Cystitis and Pyelonephritis in Women: A 2010 Update by the Infectious Diseases Society of America and the European Society for Microbiology and Infectious Diseases, Clinical Infectious Diseases[website]. 2011[cited 13 06 2021]. Available
from : https://academic.oup.com/cid/article/52/5/e103/388285
2.CDC. Urinary Tract Infection [Website]. 2019[cited 13 06 2021]. Available
from : https://www.cdc.gov/antibiotic-use/uti.html
3.G. Bonkat (Co-chair), R. Pickard (Co-chair), R. Bartoletti, T. Cai, F. Bruyère, S.E. Geerlings, B. Köves, F. Wagenlehner Guidelines Associates: A. Pilatz, B. Pradere, R. Veeratterapillay. EAU Guidelines on Urological infections[website]. 2018[cited 13 06 2021]. Available
from : https://uroweb.org/wp-content/uploads/EAU-Guidelines-on-Urological-Infections-2018-large-text.pdf
4.PSAP. Urinary Tract Infection [Website]. 2018[cited 13 06 2021]. Available
from : https://www.accp.com/docs/bookstore/psap/p2018b1_sample.pdf
5. ธนา ขอเจริญพร. โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ[เว็บไซต์]. [เข้าถึงเมื่อ 13 06 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.idthai.org/Contents/Download/dbc0f004854457f59fb16ab863a3a1722cef553f/1/?p=RvE8pCon
6.สาธิต ศิริบุญฤทธิ์. กลุ่มอาการระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง[เว็บไซต์]. 2553[เข้าถึงเมื่อ 13 06 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtamedj.pmk.ac.th/files/63-4-11.pdf