หน้าหลัก > รายการ > ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกงูกัด และแนวทางการป้องกัน
ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกงูกัด และแนวทางการป้องกัน
ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกงูกัด และแนวทางการป้องกัน
03 Feb, 2023 / By salacrm01
Images/Blog/MpvMmruh-งู.jpg

ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกงูกัด และแนวทางการป้องกัน

            แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงประเทศไทยจัดเป็นพื้นที่ที่มีงูมีพิษชุกชุม หลากหลายชนิด และส่วนมากมีความอันตรายร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยในแถบนี้โดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวเสียชีวิตและพิการจากการการโดนงูพิษกัดกว่าหนึ่งหมื่นราย โดยเฉพาะบุคคลที่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร แนวทางการปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อโดนงูกัดจึงมีความสำคัญ เพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอย่างปลอดภัย และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

            นอกจากนี้การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันพิษจากงูก็เป็นสิ่งสำคัญหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือมีอาชีพที่มีโอกาสพบงูได้บ่อยครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการโดนงูกัดทั้งในที่พักอาศัยหรือขณะทำงาน

งูพิษรุนแรงที่พบได้ในประเทศไทย

            ในประเทศไทยงูที่มีพิษอันตรายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1.งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา และงูทะเล โดยพิษของงูเหล่านี้ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการเริ่มต้น คือ หนังตาตก ทำให้มักเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยง่วงนอน ความจริงแล้วหนังตาตกเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนยกเปลือกตาไม่ขึ้น ต่อมาอาจมีกลืนลำบาก และเกิดอัมพาต ถ้ากล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาตทำให้หายใจไม่ออก และอาจเสียชีวิตได้

2.งูที่มีพิษต่อระบบโลหิต ได้แก่ งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ งูพิษเหล่านี้ทำให้เกิดเลือดไหลไม่หยุด เช่น มีเลือดออกไรฟัน ออกจากทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ถ้าเลือดออกรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ พิษงูแมวเซา อาจทำให้เกิดไตวายร่วมด้วย

แนวทางการปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

1.เคลื่อนย้ายออกห่างจากบริเวณที่ถูกงูกัด เรียกสติผู้ป่วยให้อยู่ในความสงบ จดจำลักษณะงูพิษที่กัด หรือถ่ายรูปด้วยสมาร์ทโฟน หรือเก็บซากงูไว้ เพื่อนำไปใช้ประกอบการวินิจฉัยโดยแพทย์ และเลือกใช้แนวทางการรักษาต่อไป

2.ถอดเครื่องประดับบริเวณที่โดนงูกัดออกให้หมดเพื่อเตรียมพันผ้าพันแผล

3.ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีดังตารางต่อไปนี้

 

 

 

วิธีปฐมพยาบาลบริเวณเท้า

วิธีปฐมพยาบาลบริเวณมือหรือแขน

                
1.) ทำการพันผ้าพันแผล โดยเริ่มตั้งแต่นิ้วเท้าไล่ขึ้นมาจนถึงน่องโดยให้คลอบคลุมส่วนที่โดนกัด รัดผ้าพันแผลให้แน่นพอประมาณ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าพันแผลคล้ายตัวระหว่างทำการส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาล และไม่ควรรัดแน่นเกินไปจนเลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงบริเวณเท้าได้

                                            1.) ทำการพันผ้าพันแผลเริ่มตั้งแต่ปลายนิ้วมือลงมาไล่ลงมาจนถึงบริเวณรักแร้โดยให้คลอบคลุมส่วนที่โดนกัด รัดผ้าพันแผลให้แน่นพอประมาณ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าพันแผลคล้ายตัวระหว่างทำการส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาล และไม่ควรรัดแน่นเกินไปจนเลือดไม่สามารถหล่อเลี้ยงแขนได้

               
2.) หากกางเกงสามารถถกขึ้นได้ง่ายให้ถกขึ้น เพื่อพันผ้าพันแผลหากทำได้ยากให้ใช้กรรไกรตัดออก หากไม่มีอุปกรณ์สามารถพันทับเสื้อผ้าได้เลยแต่ต้องไม่แน่นเกินไป สามารถใช้ผ้าพันแผลมากกว่าหนึ่งผืนเพื่อรัดช่วงขาให้แน่นเพื่อป้องกันการดำเนินของพิษงู

                  
2.) หากแขนเสื้อสามารถถกขึ้นได้ง่ายให้ถกขึ้น เพื่อพหากทำได้ยากให้ใช้กรรไกรตัดออก หากไม่มีอุปกรณ์สามารถพันทับเสื้อผ้าได้เลยแต่ต้องไม่แน่นเกินไป

 

 

3.)ทำการดามด้วยแท่งไม้หรือวัสดุแข็งความยาวเท่ท่อนขา เพื่อยึดไม่ให้ขาขยับลดการแพร่กระจายของเชื้อจากปากแผล4

 

 

              

                                                                  3.)ทำการดามด้วยแท่งไม้หรือวัสดุแข็งความยาวเท่าท่อนแขนเพื่อไม่ให้ข้อศอกไปไจนถึงข้อมือสามารถขยับหรือพับได้ เพื่อยึดไม่ให้ขาขยับลดการแพร่กระจ่ายของเชื้อจากปากแผล

  1. ภายหลังจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ดูแลผู้ป่วยให้ขยับน้อยที่สุด จากนั้นพาผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้เคียง โดยห้ามผู้ป่วยยืนหรือเดิน

 

แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นเมื่องูกัดบริเวณศีรษะ,ลำคอ และลำตัว

            ในกรณีที่ผู้ป่วยถูกงูกัดบริเวณศีรษะ,ลำคอ และลำตัวให้ติดต่อสถานบาลใกล้เคียงอย่างเร่งด่วน เพื่อติดต่อประสานรถพยาบาลเพื่อนำส่งผู้ป่วยให้เร็วที่สุด กำกับดูแลผู้ป่วยไม่ให้ขยับนอนนิ่งให้มากที่สุด  และทำการมัดรอบรอยกัดโดยใช้ผ้า แต่ต้องไม่กระทำการใดที่เป็นการรบกวนทางเดินหายใจของผู้ป่วย

ข้อควรปฏิบัติอื่น ๆ หลังจากถูกงูกัด

1.ห้ามพยายามไล่, จับ หรือฆ่า งูตัวที่กัด เพราะเสี่ยงต่อการโดนกัดอีกครั้งได้

2.ห้ามรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง สารกระตุ้นอื่นๆ รวมไปถึงอาหารหรือยาแก่ผู้ป่วย โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

3.ห้ามล้างแผล เนื่องจากจะทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ห้ามประคบร้อนหรือเย็น ห้ามใช้มีดกรีดแผล ห้ามทำขันชะเนาะหรือมัดอย่างแน่นบริเวณเหนือแผล ห้ามดูดปากแผลด้วยปากเปล่าหรืออุปกรณ์ดูดอื่น ๆ 

4.ห้ามไม่ให้ผู้ป่วยเดินหรือวิ่งหลังจากถูกงูกัด

5.ห้ามนำผ้าพันแผลออกหรือทำให้หลวมขณะนำส่งไปยังสถานพยาบาลโดยปราศจากคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์

6.ไม่ควรรักษาโดยใช้พืชสมุนไพร หรือการรรักษาโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการรักษาเบื้องต้น เสี่ยงต่อการเกิดผลเสียมากกว่าผลดี

7.ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ห่างจากงูในระยะที่ปลอดภัย

8.เรียกสติผู้ป่วยให้อยู่ในความสงบ และจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะนอนตะแคงคว่ำชันหัวเขาด้านหนึ่งชันไปด้านหน้า และยื่นแขนด้านนึงไปด้านหน้า อีกด้านรองไว้ที่แก้ม (Recovery position) เพื่อลดการดำเนินไปของพิษงูระหว่างรอการช่วยเหลือจากสถานพยาบาล

9.พยายามอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา หากมีความจำเป็นต้องปลีกตัวจากผู้ป่วยเพื่อเรียกขอความช่วยเหลือ ให้รีบกลับมาอย่างเร่งด่วนที่สุด

10.ทำสัญลักษณ์บริเวณที่ถูกรอยกัดด้วยปากกาบนผ้าพันแผล

แนวทางการป้องกันและลดโอกาสจากการโดนงูกัด

1.รู้จักธรรมชาติของงูในบริเวณใกล้เคียง ชนิดของงู ถิ่นที่อยู่อาศัย เวลาออกหากินของงู เหยื่อที่งูกิน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงหรือหลีกเลี่ยงออกมาสัญจรในช่วงเวลาที่งูส่วนใหญ่ในพื้นที่ออกหากิน เช่น งูสามเหลี่ยมพบมากในภาคใต้ของประเทศไทย มักอาศัยบริเวณป่าพรุหรือพงหญ้าบริเวณแม่น้ำ และมักออกหากินเวลากลางคืน จึงควรหลีกเลี่ยงการสัญจรไปมาในเวลากลางคืน ในป่าหรือบริเวณใกล้เคียงแม่น้ำโดยเฉพาะในภาคใต้

2.ห้ามก่อกวน ไล่หรือทำร้ายงู เนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุได้

3.ควรนอนในมุ้ง หรือบนเตียงที่ยกสูงจากพื้น เพื่อป้องกันการเข้าใกล้ของงูขณะหลับ

4.ทำความสะอาดบริเวณรอบบ้านอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีกองขยะ เพื่อป้องกันการมาทำรังของหนู ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของงู และควรพกไฟฉายหากมีความจำเป็นต้องสัญจรในเวลากลางคืน

5.ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ เกษตรกร ควรใส่รองเท้าที่ปกป้องเท้าจากการโดนกัดได้ หรืออาจจะใส่รองเท้าบูทในช่วงเวลางาน

6.ชาวประมงควรหลีกเลี่ยงการจับงูทะเลที่ติดมากับแหจับปลา

เรียบเรียงโดย

ภญ.ชญานี ชัยชิต

อ้างอิง

1.Mohapatra B;Warrell DA;Suraweera W;Bhatia P;Dhingra N;Jotkar RM;Rodriguez PS;Mishra K;Whitaker R;Jha P; ; (n.d.). Snakebite mortality in India: A Nationally Representative Mortality survey. PLoS neglected tropical diseases. Retrieved November 22, 2022, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21532748/

2.โรจน์นครินทร์ ศ.นพ. พลภัทร. (n.d.). งูพิษรุนแรงในประเทศไทย. สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. Retrieved January 27, 2023, from http://tsh.or.th/Knowledge/Details/47

3.World Health Organization. (n.d.). Guidelines for the management of Snakebites, 2nd edition. World Health Organization. Retrieved January 27, 2023, from https://www.who.int/publications-detail-redirect/9789290225300

4.First aid for snake bites in Australia or New Guinea. (n.d.). Ret          rieved November 22, 2022,from https://biomedicalsciences.unimelb.edu.au/__data/assets/pdf_file/0011/2011007/Snakebite_firstaid_ANG_AVRU.pdf

5.The State of Queensland; Queensland Health;  (2018, December 18). Top 5 things you need to do if you get bitten by a snake. Queensland Health. Retrieved November 22, 2022, from https://www.health.qld.gov.au/news-events/news/what-to-do-if-you-get-bitten-by-a-snake#:~:text=Don't%20wash%2C%20suck%2C,of%20snake%20that%20bit%20you.

6.งูสามเหลี่ยม/banded krait (bungarus fasciatus ). องการณ์สวนสัตว์แห่งประเทศไทย. (n.d.). Retrieved January 27, 2023, from https://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=220&c_id=57

 

 
Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.