คาเฟอีนในกาแฟดีหรือร้ายกันแน่?
02 Nov, 2020 / By
salacrm01
คาเฟอีนในกาแฟดีหรือร้ายกันแน่?
หากจะพูดถึงเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว สดชื่น กระปรี่กระเปร่า เพื่อที่จะเตรียมร่างกายให้พร้อมทำงานในเช้าวันใหม่ หลายท่านคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะนึกถึง “กาแฟ” และเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าสารสำคัญหลักที่ออกฤทธิ์ดังกล่าวในกาแฟนั้นคือ “คาเฟอีน”หากท่านเป็นอีกหนึ่งคนที่ชื่นชอบการรับประทานกาแฟและรับประทานกาแฟเป็นประจำ ท่านรู้หรือไม่ว่าคาเฟอีนมีประโยชน์และโทษต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
โดยทั่วไปในกาแฟ 1 แก้ว 150 มิลลิลิตร หรือเท่ากับผงกาแฟปริมาณ 2 ช้อนชา จะมีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 80-100 มิลลิกรัมแล้วแต่ชนิดของกาแฟ จากข้อมูล การได้รับคาเฟอีนต่อวันของ USDA คนปกติสามารถดื่มกาแฟขนาดแก้ว 150 มิลลิลิตร ได้ 4 แก้วต่อวัน นั่นหมายความว่าเราสามารถรับประทานคาเฟอีนได้ถึง 400 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแนะนำให้พิจารณาปริมาณกาแฟที่รับประทานเป็นจำนวนมิลลิลิตรที่รับประทานเข้าไปจะดีกว่า เนื่องจากในท้องตลาดขนาด 1 แก้วมักจะมีปริมาณมากกว่า 150 มิลลิลิตร ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าในผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละชนิดมีปริมาณคาเฟอีนเท่าไรกันบ้าง
ผลิตภัณฑ์
|
ปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
|
ปริมาณ Caffeine ต่อหน่วยบริโภค
|
กาแฟผงชง
|
12 กรัม
|
65 มิลลิกรัม
|
กาแฟกระป๋อง
|
175 มิลลิลิตร
|
74 มิลลิกรัม
|
โคคาโคล่า
|
250 มิลลิลิตร
|
23 มิลลิกรัม
|
ช็อกโกแลต
|
30 กรัม
|
16 มิลลิกรัม
|
ตารางแสดงปริมาณคาเฟอีนในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ
โดยคาเฟอีนมีรายงานว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
- ส่งเสริมความจำระยะสั้น ป้องกันการเป็นโรคความจำเสื่อม Alzheimer's disease
- ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคพาร์กินสัน
- ทำให้ตื่นตัว เนื่องมาจากมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทซิมพาร์เทติก
- ลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน
ส่วนข้อเสียของคาเฟอีนจากรายงานพบดังนี้
- เพิ่มความดันโลหิต หลังจากรับประทาน แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตหรือไม่
- กระตุ้นการปัสสาวะ
- นอนไม่หลับ
รูปภาพอ้างอิงจาก Rob M.,Frank B. H, Walter C W, et al. Coffee Caffeine and Health. The New England Journal of Medicine 2020; 383,369-378.
ในขณะเดียวกันการรับประทานคาเฟอีนมากกว่า 250 มิลลิกรัม มักจะทำให้เกิดอาการ ใจสั่น มีอาการทางระบบประสาท และมีอาการทางระบบทางเดินอาหารได้ และการรับประทานคาเฟอีนมากกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาจจะทำให้เกิดความอาการสับสน กระสับกระส่าย ในคนที่ติดการดื่มกาแฟ อาจเกิดอาการเพ้อ และอาการเบื่ออาหาร ในบางกรณีที่จัดเป็นการเกิดพิษจากการรับประทานคาเฟอีนในปริมาณสูง มักพบอาการ หัวใจเต้นเร็ว ชัก โคม่า และเสียชีวิตด้วยภาวะปอดบวม, หัวใจเต้นผิดจังหวะ
จะเห็นได้ว่าคาเฟอีนซึ่งเป็นสารสำคัญในกาแฟมีทั้งประโยชน์และโทษ ในทางปฏิบัติตัวทั่วไปแนะนำให้รับประทานกาแฟหรือเครื่องดื่มอื่นๆที่มีคาเฟอีนแต่พอดีตามความจำเป็น เนื่องจากการศึกษาผลต่อร่างกายในระยะยาวสำหรับสารนี้ยังค่อนข้างมีน้อย ซึ่งนั่นไม่ได้แปลว่าไม่มีข้อมูลจะไม่มีข้อเสียต่อร่างกาย
เรียบเรียงโดย
ภญ.ศุธิดา แผ่นมณี
เอกสารอ้างอิง
[1] สุรีย์รัตน์ พิพัฒน์จารุกิตติ์. การดื่มกาแฟกับผลกระทบต่อสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 ต.ค. 2563]. http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/files/สุรีย์รัตน์-1.%20ผลกระทบต่อสุขภาพจากการดื่มการแฟ.pdf
[2] Yenisetti SC, Muralidhara. Beneficial Role of Coffee and Caffeine in Neurodegenerative Diseases: A Minireview. AIMS Public Health 2016; 3(2), 407-422.
[3] Messina G, Zannella C, Monda V, Dato A, Liccardo D, De Blasio S, et al. The Beneficial Effects of Coffee in Human Nutrition. Biol Med (Aligarh) 2015,7:4.