หน้าหลัก > ศาลา มีสาระ > ประโยชน์ดี ๆ เหนือการนอนหลับของ Melatonin
ประโยชน์ดี ๆ เหนือการนอนหลับของ Melatonin
ประโยชน์ดี ๆ เหนือการนอนหลับของ Melatonin
14 Nov, 2022 / By salacrm01
Images/Blog/QbQ0QN5Z-ประโยชน์ดี-ๆ-เหนือการนอนหลับของ-Melatonin.jpg

ประโยชน์ดี ๆ เหนือการนอนหลับของ Melatonin

     Melatonin (เมลาโทนิน) เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นมาจากต่อมไพเนียล (Pineal gland) มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมวงจรการนอนหลับของร่างกาย โดยมีแสงเป็นตัวยับยั้งการหลั่งของเมลาโทนิน และความมืดเป็นตัวกระตุ้นการหลั่งของเมลาโทนิน ซึ่งในประเทศไทยไทยมีผลิตภัณฑ์เมลาโทนินที่ขึ้นทะเบียนและเป็นยาที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียง 1 ชนิดคือ Circadin ขนาด 2 mg เป็นเมลาโทนินในรูปแบบออกฤทธิ์เนิ่น (Prolonged release) มีข้อบ่งใช้ในการช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากประโยชน์ในการช่วยนอนหลับแล้ว เมลาโทนินยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ดังนี้

1.เมลาโทนินสามารถใช้เป็นตัวเสริมในการรักษาโรคมะเร็งได้                                         

ขนาดการรักษา : Melatonin 20 mg รับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน

          จากการศึกษา systematic review และ meta-analysis จำนวน 8 การศึกษาในรูปแบบ randomized และเป็น open-label  มีผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นมะเร็งชนิดก้อนจำนวน 761 คน พบว่าการให้ melatonin 20 mg รับประทานวันละ 1 ครั้งร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดหรือให้ร่วมกับรังสีบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนมี overall remission rate มากกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดเพียงอย่างเดียว (32.6% vs 16.5% ; RR 1.95; 95%CI 1.49-2.54 ,p < 0.00001) และทำให้มีอัตราการรอดชีวิตใน 1 ปีมากกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดเพียงอย่างเดียว (52.2% vs 28.4% ; RR 1.9 ; 95%CI 1.28-2.83, p=0.001)  นอกจากนี้ยังสามารถลดการเกิด thrombocytopenia, neurotoxicity และอาการอ่อนเพลียจากการรับยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

2.เมลาโทนินสามารถใช้ป้องกันอาการ Cluster headache ได้

ขนาดการรักษา : 10 mg รับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน

        จากการศึกษา randomized placebo-controlled ในผู้ป่วย Cluster  headache หรือโรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ซึ่งเป็นการปวดหัวชนิดรุนแรง จำนวน 20 คน ( ปวดหัวฉับพลัน (episodic) 18 คน, ปวดหัวเรื้อรัง (chronic) 2 คน ) พบว่าการให้ melatonin 10 mg รับประทานวันละ 1 ครั้งก่อนนอนก่อนช่วงการเกิดอาการปวดศีรษะ จะมีประสิทธิภาพในการลดความถี่จากการเกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ได้มากกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าค่าเฉลี่ย SD ของความถี่ในการเกิดอาการปวดหัวในช่วงสัปดาห์แรกในกลุ่มที่ได้รับ melatonin น้อยกว่ากลุ่ม ที่ได้รับยาหลอก (1.9±1.5 vs. 2.7±0.9 ; p<0.03) และในช่วงสัปดาห์ที่ 2 (1.5±1.7 vs. 2.5±0.9 ; p=0.01)4

3.เมลาโทนินสามารถใช้รักษาภาวะเสียงดังรบกวนในหู (Tinnitus) ได้

ขนาดการรักษา : 3 mg รับประทานวันละ 1 ครั้งก่อนนอน

        จากการศึกษา randomized , crossover study มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 23 คน เปรียบเทียบระหว่าง melatonin 3 mg กับยาหลอก พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ melatonin 3 mg  1 - 2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน จะมีคะแนน Tinnitus Handicap Inventory (THI) ลดลงไม่แตกต่างกันกับกลุ่มยาหลอก แต่จากผลแบบสอบถามติดตามอาการพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับ melatonin มีภาวะเสียงดังรบกวนในหูดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก (39% vs 17%) และพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่นอนหลับยากจากภาวะเสียงดังรบกวนในหูจะมีอาการดีขึ้นจากการได้รับ melatonin มากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (46.7% vs 20% , p=0.04) 

         จากการศึกษา randomized , double-blind ,crossover ในผู้ป่วยที่มีภาวะเสียงดังรบกวนในหูเรื้อรัง (chronic tinnitus) มานานมากกว่า 6 เดือน จำนวน 61 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับ melatonin 3 mg รับประทานวันละ 1 ครั้งก่อนนอน และกลุ่มยาหลอก พบว่าผู้ป่วยมีภาวะเสียงดังในหูดีขึ้นในกลุ่มที่ได้รับ melatonin มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก (57% vs 25%)  โดยประเมินจากคะแนนที่ลดลงของแบบประเมินอย่างน้อย 2 ใน 3 ของ Tinnitus measurement parameter  ได้แก่ TM , TSI , SRT6

          จากการศึกษา Prospective , open-label ในผู้ป่วย chronic และ idiopathic tinnitus จำนวน 20 คน โดยผู้ป่วยจะได้รับ melatonin 3 mg รับประทานวันละ 1 ครั้ง 1 - 2 ชั่วโมงก่อนนอนเป็นเวลา 4 สัปดาห์และติดตามต่ออีก 4 สัปดาห์โดยที่ไม่ได้รับ melatonin พบว่าคะแนน THI เฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 4 ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนได้รับยา 6.6 คะแนน (95% CI 1.4-8.8 , p=0.02) และในสัปดาห์ที่ 8 ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนได้รับยา 7.8 คะแนน (95% CI 3.7-12.9 , p=0.006) ซึ่งคะแนน THI ที่ลดลงจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากการภาวะเสียงดังรบกวนในหูที่ลดลง

4.เมลาโทนินสามารถใช้รักษาอาการ Jet lag ได้

ขนาดการรักษา :

  1. ในกลุ่มที่เดินทางไปทางทิศตะวันตกหรือทางตะวันออก แนะนำให้ใช้ melatonin ขนาด 5 mg รับประทานวันละ 1 ครั้งก่อนนอน เป็นเวลา 3 วันก่อนออกเดินทาง และให้ต่อเนื่องไปอีก 4 วัน
  2. ในกลุ่มพนักงานบนเครื่องบิน (ที่เดินทางจาก Los Angeles กลับมายัง Auckland หลังจากปฏิบัติงานทางอากาศ 9 วัน)  แนะนำให้ใช้ melatonin ขนาด  5 mg วันละ 1 ครั้งก่อนนอน เป็นเวลา 5 วัน หลังจากถึงประเทศเป้าหมาย

          จากการศึกษา Double blind , placebo controlled , crossover ในผู้ที่มีประวัติเคยเดินทางข้ามทวีป จำนวน 20 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ melatonin 5 mg เป็นเวลา 3 วันก่อนเดินทาง , ระหว่างการเดินทาง และ 3 วันหลังจากถึงที่หมาย จะมีผลทำให้ลดอาการ Jet lag ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยประเมินจาก visual analogue scale (mean score 2.15 vs 3.4)

          จากการศึกษา Double blind , placebo-controlled  ในพนักงานบนเครื่องบินที่เดินทางกลับมายัง Auckland จาก Los Angeles หลังจากปฏิบัติงานทางอากาศเป็นเวลา 9 วัน จำนวน 52 คน พบว่าการให้ melatonin ขนาด 5 mg เป็นเวลา 5 วันหลังจากมาถึงประเทศปลายทาง จะมีประสิทธิในการลดอาการ Jet lag เหนือกว่าการให้ยาหลอก และเหนือกว่าการให้ melatonin 5 mg เป็นเวลา 2 วันก่อนเดินทาง ,ระหว่างเดินทาง และให้ต่อเนื่องไปอีก 5 หลังจากถึงประเทศปลายทาง  (difference = -26.9 , p=0.06)

ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้

  1. ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือที่สูง เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้
  2. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในเด็ก สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเพียงพอในประชากรกลุ่มดังกล่าว

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ Melatonin ได้แก่

  1. อาการข้างเคียงด้านหัวใจและหลอดเลือด ( Cardiovascular effects ) เช่น อาการเจ็บเค้นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว มีโอกาสเกิด 0.01% - 0.1%
  2. อาการข้างเคียงด้านผิวหนัง ( Dermatologic effects ) เช่น เกิดผื่นแดง หรือผื่นคัน มีโอกาสเกิด 0.1-1%
  3. การลดลงของระดับฮอร์โมน Pituitary luteinizing hormone มักเกิดเมื่อได้รับ melatonin ขนาดสูง (80 mg)  
  4. การเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ตับ มีโอกาสเกิด  0.01% - 0.1%
  5. อาการข้างเคียงด้านระบบประสาท ( Neurologic effects ) ได้แก่ อาการปวดหัว ง่วงซึม มีโอกาสเกิด 0.01-1%
  6. อาการข้างเคียงด้านจิตเวช ( Psychiatric effects ) ได้แก่ อาการมึนงงสับสน มีโอกาสเกิด 0.01-0.1%
  7. อาการถอนยา  ( Drug withdrawal ) พบรายงานการเกิดในผู้ป่วยที่หยุดยา หลังจากได้รับ Melatonin ขนาด 5 mg ต่อคืน มาเป็นระยะเวลา 1 ปี
  8. อ่อนเพลีย

        และจากรายงานการรวบรวมข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ Melatonin ในระยะเวลา 35 ปี (ค.ศ.1966-2000) พบรายงานอาการไม่พึงประสงคำนวน 9 ฉบับจากทั้งหมด 307 ฉบับ โดยขนาดยา melatonin ที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์มีตั้งแต่ระหว่าง 1-36 mg แต่ถึงแม้จะพบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ Melatonin แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพ

 

เรียบเรียงโดย

ภญ.อาทิตยา หิมพล

เอกสารอ้างอิง

1.Micromedex® [Database on internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c2021. Available from: http://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian/

2.Wang YM, Jin BZ, Ai F, et al: The efficacy and safety of melatonin in concurrent chemotherapy or radiotherapy for solid tumors: a meta-analysis of randomized controlled trials. Cancer Chemother Pharmacol 2012; 69(5):1213-1220.

3.Robbins MS, Starling AJ, Pringsheim TM, et al: Treatment of cluster headache: the American Headache Society evidence-based guidelines. Headache 2016; 56(7):1093-1106.

4.Leone M, D'Amico D, Moschiano F, Fraschini F, Bussone G. Melatonin versus placebo in the prophylaxis of cluster headache: a double-blind pilot study with parallel groups. Cephalalgia : an international journal of headache. 1996; 16:494–496.

5.Rosenberg SE, Silverstein H, Rowan PT, et al: Effect of melatonin on tinnitus. Laryngoscope 1998; 108:305-310.

6.Hurtuk A, Dome C, Holloman CH, et al: Melatonin: can it stop the ringing?. Ann Otol Rhinol Laryngol 2011; 120(7):433-440.

7.Megwalu UC, Finnell JE, & Piccirillo JF: The effects of melatonin on tinnitus and sleep. Otolaryngol Head Neck Surg 2006; 134(2):210-213.

8.Petrie K, Conaglen JV, Thompson L, et al: Effect of melatonin on jet lag after long haul flights. Br Med J 1989; 298:705-707.

9.Petrie K, Dawson AG, Thompson L, et al: A double-blind trial of melatonin as a treatment for jet lag in international cabin crew. Biol Psychiatry 1993; 33:526-530.

10.Morera AL, Henry M, de La Varga M. Seguridad en el uso de la melatonina [Safety in melatonin use]. Actas Esp Psiquiatr. 2001 Sep-Oct;29(5):334-7. Spanish. PMID: 11602091..

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.