หน้าหลัก > ศาลา มีสาระ > ปัญหาผมร่วมผมบาง
ปัญหาผมร่วมผมบาง
ปัญหาผมร่วมผมบาง
29 Jan, 2022 / By salacrm01
Images/Blog/qrvwwYf6-แก้ปัญหาผมร่วมผมบาง.png

ปัญหาผมร่วมผมบาง

          โดยทั่วไปเส้นผมของมนุษย์จะยาวได้ประมาณ 1 ซม. ต่อเดือน และมีอายุประมาณ 4 ปี ต่อเส้น ทำให้แต่ละวันจะมีผมร่วงได้เฉลี่ย 100 เส้นต่อวัน ทั้งนี้อาการผิดปกติบางอย่างอาจทำให้เกิดอาการผมร่วงผมบางได้ โดยจะแบ่งสาเหตุของอาการผมร่วงผมบางได้ ดังนี้

1. เกิดจากฮอร์โมนที่ผิดปกติและปัจจัยทางพันธุกรรมจะทำให้ผมค่อย ๆ ลีบแบนจนเห็นหนังศีรษะ ทำให้ผมบางตรงกลางศีรษะในเพศหญิงและผมบางเป็นลักษณะ M ในเพศชาย สามารถรักษาได้โดย

          1.1 ยา Minoxidil ชนิดทา/สระ โดยยานี้จะมี 2 ความแรงคือ 2% และ 5% โดยแนะนำความแรง 2% ในเพศหญิง เนื่องจากจากการศึกษาพบว่าทั้ง 2 ความแรงให้ผลลัพธ์ไม่ต่างกัน และ ในเพศชายแนะนำที่ความแรง 5% เนื่องจากเห็นผลดีกว่าแบบ 2% ทั้งนี้ ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่ผิวหนังมีอาการแดง บวม ระคายเคือง หรือติดเชื้อ, ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

          1.2 ยา Finasteride แนะนำให้ใช้ในเพศชาย แต่จะมีผลข้างเคียง เช่น ความต้องการทางเพศลดลง, ลดการสร้างอสุจิ เป็นต้น แต่ในเพศหญิงไม่แนะนำให้ใช้ยานี้เนื่องจากไม่ค่อยได้ผลและยังมีผลข้างเคียงร้ายแรงของยาคือ ทำให้ทารกในครรภ์เกิดพิกลรูปได้

2. อาการผมร่วงทั้งศีรษะ คือ ภาวะผมร่วง-ผมบาง จากการที่มีสาเหตุมากระตุ้น ทำให้ระยะ Telogen ของวงจรเส้นผมถูกกระตุ้นให้หลุดล่วงเร็วกว่าปกติ มีสาเหตุมาจาก

          - ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น เป็นโรคไทรอยด์, การเปลี่ยนยาคุมชนิดรับประทาน หรือ หยุดยาคุมชนิดรับประทาน

          - การรับประทานยา Cimetidine, Metoprolol, Propranolol, Lithium, Levodopa

          - การขาดสารอาหารจำพวกโปรตีน, ธาตุเหล็ก (Ferrous), สังกะสี (Zinc), ไบโอติน (Biotin), ได้รับวิตามินเอ (Vitamin A) มากเกินไป รวมถึงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป

          - เกิดสภาวะเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

          - ได้รับสารพิษ เช่น Thallium, Selenium, Arsenic, Mercury, Lead

          ทั้งนี้สามารถบำรุงรักษาได้ตามสาเหตุ ตัวอย่างเช่น

        2.1 ไบโอติน (Vitamin B7 หรือ Biotin) 100 – 300 ไมโครกรัมต่อวัน ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, บรรเทาอาการผื่นคันและผิวหนังอักเสบ, ป้องกันและรักษาเล็บแห้ง เปราะ, ป้องกันการเกิดผมหงอก และเพิ่มความแข็งแรงของเส้นผม

        2.2 สังกะสี (Zinc) 12 – 15 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่ จะช่วยเร่งให้แผลหายเร็วขึ้น, ลดจุดขาวบนเล็บมือ, ช่วยป้องกันปัญหาต่อมลูกหมาก, รักษาสภาวะการมีบุตรยาก, ลดการสะสมคลอเรสเตอรอล, ลดระยะเวลาการเป็นหวัดและลดความรุนแรงของโรคหวัด, ลดภาวะผมบาง

        2.3 ธาตุเหล็ก (Ferrous salts) 10 – 15 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่, 30 มิลลิกรัมในผู้หญิงตั้งครรภ์, 15 มิลลิกรัมในผู้หญิงและผู้ที่ให้นมบุตร จะช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลีย, ฟื้นฟูความเนียนของสีผิว, เสริมภูมิคุ้มกัน, ป้องกันสภาวะโลหิตจาง, ป้องกันสภาวะผมบาง

เอกสารอ้างอิง

1.Otberg N, Shapiro J. Chapter 88. Hair Growth Disorders. In: Goldsmith LA, Katz SI, Gilchrest BA, Paller AS, Leffell DJ, Wolff K. eds. Fitzpatrick's Dermatology in General Medicine, 8e New York, NY: McGraw-Hill; 2012.

2.Donovan J, Goldstein BG and Goldstein AO. Androgenetic alopecia in men: Pathogenesis, clinical features, and diagnosis. Uptodate; 2017. Accessed January 13, 2019.

3.McMichael A. Female pattern hair loss (androgenetic alopecia in women): Treatment and prognosis. Uptodate; 2018. Accessed January 13, 2019.

4.Lai VWY, Chen G, Gin D, Sinclair R. Systemic treatments for alopecia areata: A systematic review. Australas J Dermatol. 2018 Sep 6

5.Dhaher SA, Yacoub AA, Jacob AA. Estimation of Zinc and Iron Levels in the Serum and Hair of Women with Androgenetic Alopecia: Casecontrol Study. Indian J Dermatol. 2018 Sep-Oct;63(5):369-374.

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.