รับประทานยาพร้อมนมได้จริงหรือ?
29 Jul, 2021 / By
salacrm01
รับประทานยาพร้อมนมได้จริงหรือ?
การรับประทานยาบางชนิดพร้อมกับนมหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากนม เช่น โยเกิร์ต, ชีส, ครีม, เนย, ไอศกรีม ที่มีแคลเซียม และแร่ธาตุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับโครงสร้างของยา มีผลต่อการดูดซึมยาบางชนิดเข้าสู่ร่างกายลดลงหรือไม่ดูดซึม ส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรคได้ลดลง
ตัวอย่างที่ไม่ควรรับประทานพร้อมนม ได้แก่
กลุ่มยา
|
ตัวอย่างยาในกลุ่ม
|
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มควิโนโลน (Quinolones)
|
Ofloxacin, Norfloxacin, Ciprofloxacin, Levofloxacin, Moxifloxacin
|
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเตตราไซคลีน (Tetracyclines)
|
Tetracycline, Doxycycline
|
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosprins)
|
Cefdinir
|
แร่ธาตุเสริมร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, แคลเซียม
|
Ferrous Fumarate, Ferrous Sulfate,
Magnesium, Calcium
|
ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonates)
|
Alendronate, Ibandronate, Risedronate
|
ยารักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
|
Levothyroxine, Thyroxine
|
หากต้องการรับประทานยาบางชนิดพร้อมกับนมหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากนม แนะนำให้ดื่มนมก่อนหรือหลังรับประทานยานั้น ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาด้วยยา หากเราไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่ายาที่เราใช้อยู่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมนมหรือเเคลเซียมหรือไม่ ควรกินยากับน้ำเปล่าจะดีที่สุด
จัดทำโดย
ภญ. เบญจวรรณ แป้นแก้ว
อ้างอิง
1.Choi JH, Ko CM. Food and drug interactions. J Lifestyle Med. 2017;7(1):1-9.