หน้าหลัก > ศาลา มีสาระ > เจ้าเหาตัวร้ายทำไม ไม่หายไปสักที?
เจ้าเหาตัวร้ายทำไม ไม่หายไปสักที?
เจ้าเหาตัวร้ายทำไม ไม่หายไปสักที?
28 Jul, 2021 / By salacrm01
Images/Blog/YCqtpNhm-เจ้าเหาตัวร้าย.png

เจ้าเหาตัวร้ายทำไม ไม่หายสักที ?

เหาคืออะไร ?

 

เหา!  ตัวเหา เป็นแมลง ชื่อ Pediculus humanus capitis  ลักษณะตัวเรียวยาว ขนาด 3-4 มม. โดยเหาตัวเมียมีอายุ 30 วัน    และวางไข่ประมาณวันละ 10 ฟอง หลังจากนั้นใช้เวลา 7-10 วัน ในการฟักเป็นตัวอ่อน และอีก 14 วัน ในการพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งไข่เหามีขนาดยาว 0.5 มม. มองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นตุ่มสีเทาขาวติดแน่นอยู่กับผม

       การติดต่อเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

     เกิดจากการสัมผัสโดยตรง การใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หมวก หวี ที่นอน หมอน รวมถึงการใกล้ชิดกัน เป็นต้น ซึ่งพบบ่อยในเด็กวัย 3-12 ปี โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง

       อาการของเหาเป็นอย่างไร ?

    มักพบไข่เหา บริเวณท้ายทอยและหลังใบหูร่วมกับอาการคัน เกิดเป็นตุ่มคัน ตุ่มแดงหรือเป็นสะเก็ดจากการเกา แต่อาจพบได้ที่อื่น เช่น บริเวณเครา ซึ่งในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือต่อมน้ำเหลืองโต ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้คือการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

       แนวทางการดูแลรักษาโรคเหา ?

1.การตัดผมหรือโกนผม

2.การใช้ยาฆ่าเหา

  • ยาฆ่าเหาชนิดทาหรือสระ โดยชโลมยาให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ตามระยะเวลาแล้วล้างออก ใช้หวีซี่ถี่ ๆ สางผมขณะเปียก จากนั้นปล่อยให้ผมแห้งเอง ควรทายาซ้ำอีกครั้งใน 7 วัน
  • Permethrin cream (5%) ทาค้างคืนแล้วล้างออก หรือ lotion (1%) ทาทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก
  • Benzyl benzoate (25%) ทาหนังศีรษะทิ้งไว้ 8-12 ชม. แล้วล้างออก
  • Pyrethrins (0.33%) ทาทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก
  • Carbaryl shampoo (0.5%) ชโลมให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วล้างออก
  • Lindane shampoo (1%) ชโลมให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 4 นาทีแล้วล้างออก (ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์)
  • Malathion lotion หรือ gel (0.5%) ทาค้างคืน แล้วล้างออก
  • ยารับประทาน
  • Ivermectin ขนาด 200-400 ไมโครกรัม/1 กิโลกรัม ให้รับประทาน 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์

 

   โดยมีประสิทธิภาพดี มีผลข้างเคียงต่ำ (ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กน้ำหนักตัวน้อยกว่า 15 กิโลกรัม หญิงให้นมบุตร และหญิงตั้งครรภ์)

       การป้องกันการแพร่กระจายของเหา

  1. ทำความสะอาดเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอนเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่ใช้ด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียสอย่างน้อย 5 นาที สำหรับเครื่องนุ่งห่มที่ซักไม่ได้ เช่น หมอนและพรม ให้อบแห้ง ตากแดดร้อน หรือเก็บไว้ในถุงพลาสติกปิดปากแน่น อย่างน้อย 14 วัน
  2. ล้างหวีในน้ำร้อน หรือแช่ใน 2% Lysol เป็นเวลา 1 ชั่วโมงเพื่อฆ่าตัวเหา
  3. แยกของใช้ส่วนตัว หวี ผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่ม และที่นอน กับคนในครอบครัว
  4. ตัดเล็บให้สั้น ไม่ทำการแคะแกะเกาบริเวณผื่นคัน

 

จัดทำโดย

ภญ.ธัญชนิตา เทอดปัญญากุล

อ้างอิง

1. ฬียาพรรณ จ, ตวงทอง ร. เหา (Pediculosis) [Internet]. Si.mahidol.ac.th. 2018 [cited 7 February 2021]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1092

2. โรคเขตร้อนจากหนังสือโรคเขตร้อนฉบับประชาชน: โรคเหา [Internet]. Tm.mahidol.ac.th. 2021 [cited 12 February 2021]. Available from: https://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/new/Louse.html

3. สุทธิ์เสรีวงศ์ ร. แนวทางการดูแลรักษาเหา ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด / ตรวจพิเศษ [Internet]. Si.mahidol.ac.th. 2021 [cited 12 February 2021]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/department/anesthesiology/anesthesia/form/Flow%20%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%B2.pdf

 

เพิ่มเพื่อน

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.