เชื้อราที่เล็บ
27 Dec, 2022 / By
salacrm01
เชื้อราที่เล็บ
เชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) คือ การติดเชื้อราบริเวณเล็บที่ทำให้เกิดอาการ เล็บเปลี่ยนสี เล็บมีความหนาตัวขึ้น และเล็บแยกออกจากฐานเล็บโดยทั่วไปมักจะเกิดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป เกิดได้มากในผู้สูงอายุเนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ, โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน และโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเทียบกับบุคคลกลุ่มอื่น
สาเหตุของเชื้อรา
เชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราที่เล็บโดยส่วนมาก คือ เชื้อกลากแท้ (Dermatophytes) 80-90% เชื้อกลากเทียม (non-dermatophytes) 2% -10% และ ยีสต์ (yeasts) 2% - 11%
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยเชื้อราที่เล็บจะดูจากลักษณะทางคลินิก เช่น เล็บเปลี่ยนสี เล็บมีความหนาตัวขึ้น และเล็บแยกออกจากฐานเล็บร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถ้าเล็บมีลักษณะบางผิดปกติอาจจะเกิดจากโรคโลหิตจางได้ หรือเล็บที่มีสีขาวเป็นแถบขวางอาจจะเกิดจากการขาดโปรตีน การวินิจฉัยโรคแพทย์จะดูอาการที่แสดงออกมาและอาจจะต้องใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย หากมีความผิดปกติที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคร้ายแรง เช่น เล็บสีดำผิดปกติไม่สม่ำเสมอ ผิวหนังที่บริเวณโคนเล็บเป็นสีดำร่วมด้วย เล็บมีสีขาวครึ่งเล็บควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาเพิ่มเติม
ยาที่ใช้รักษาเชื้อราที่เล็บในผู้ใหญ่
ยา
|
วิธีใช้
|
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
|
Ciclopirox 8% solution
|
ใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 48 สัปดาห์
|
รู้สึกแสบร้อน และรูปร่างเล็บเปลี่ยนไป
|
Fluconazole
|
รับประทานวันละ 100 – 300 มิลลิกรัม/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 – 6 เดือน (เล็บมือ) หรือ 6 – 12 เดือน (เล็บเท้า)
|
คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเสีย, ปวดศีรษะ และผื่น
|
Itraconazole
|
- Pulse Dosing : รับประทาน 200 มิลลิกรัม 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ต่อ 1 เดือน สำหรับเล็บมือจะให้ต่อเนื่อง 2 เดือน สำหรับเล็บเท้าจะให้ต่อเนื่อง 3 เดือน (การรับประทานยาแบบนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าแบบ Continuous Dosing)
- Continuous Dosing : รับประทาน 200 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ (เล็บมือ) หรือ 12 สัปดาห์ (เล็บเท้า)
|
คลื่นไส้, อาเจียน และผื่น
|
Terbinafine
|
รับประทาน 250 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ (เล็บมือ) หรือ 12 สัปดาห์ (เล็บเท้า)
|
ไม่สบายท้อง, ผื่น และปวดศีรษะ
|
ทำไมรักษาเชื้อราที่เล็บแล้วไม่หายหรือการตอบสนองต่อการรักษาต่ำ
- รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ รับประทานยาไม่ถูกต้องตามขนาดการรักษา หยุดยาก่อนถึงเวลากำหนด
- อาจจะเกิดจากการติดเชื้อดื้อยาทำให้การรักษาไม่ได้ผล
- ปัจจัยของตัวผู้ป่วย เช่น อายุเยอะ โรคเบาหวาน รับประทานยากดภูมิ
- โรคที่เป็นอาจจะไม่ใช่เชื้อราอย่างเดียว อาจจะมีโรคสะเก็ดเงินร่วมด้วย
เรียบเรียงโดย
ภก.ภีมวัฒน์ เดชประเสริฐ
อ้างอิง
1. Westerberg DP, Voyack MJ. Onychomycosis: Current trends in diagnosis and treatment. Am Fam Physician. 2013 Dec 1;88(11):762-70.
2. จรัสศรี ฬียาพรรณ, สุมนัส บุณยะรัตเวช. โรคเชื้อราที่เล็บ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คลินิกโรคเชื้อราที่เล็บ สาขาวิชาโรคเชื้อราผิวหนัง ภาควิชาตจวิทยา; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1302
3. เชิดชัย สุนทรภาส. แนวปฏิบัติการใชยาตานเชื้อราสําหรับการติดเชื้อราที่ผิวหนังในร้านยา [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน; [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=562
4. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรคเล็บซีด สัญญาณขาดสารอาหาร [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/