หน้าหลัก > ศาลา มีสาระ > Home Isolation & Home Quarantine Covid-19
Home Isolation & Home Quarantine Covid-19
Home Isolation & Home Quarantine Covid-19
21 Aug, 2021 / By salacrm01
Images/Blog/dRu1ekUW-2.jpg

Home Isolation & Home Quarantine Covid-19

     สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้นทุกวันยังไม่มีวี่แววที่ลดจำนวนลงได้เลย แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลหรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้าน จึงได้มีคำแนะนำเกี่ยวกับการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) อีกทั้งยังได้มีคำแนะนำการกักกันตัวที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

      การกักกันตัว (Home Quarantine) แนะนำสำหรับผู้ที่สัมผัสเสี่ยง

- ใกล้ชิดหรือพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร นานกว่า 5 นาที

- อยู่ในสถานที่อาการไม่ถ่ายเท ระยะ 1 เมตร เกิน 15 นาที

- ถูกไอจามรดจากผู้ป่วยที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย

- ให้สังเกตอาการตนเอง จนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคอย่างน้อย 14 วัน

      การแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับ

🟢 ผู้ป่วยที่วินิจฉัยใหม่ตามเกณฑ์ระหว่างรอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและแพทย์เห็นว่าสามารถดูแลรักษาที่บ้านระหว่างรอเตียงได้ที่เป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้

1.เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ

2.มีอายุน้อยกว่า 60 ปี

3.มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

4.อยู่คนเดียวหรือที่พักอาศัยสามารถมีห้องแยกเพื่ออยู่คนเดียวได้

5.ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย >30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว > 90 กก.)

6.ไม่มีโรคร่วมดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD stage 3, 4) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้และโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์

7.ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

🟢 ผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแล้วและแพทย์พิจารณาให้กลับบ้านเพื่อรักษาต่อเนื่องที่บ้านได้

ข้อปฏิบัติในการกักกันตัวและแยกกันตัว

1.ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านและงดการออกจากบ้าน

2.อยู่ในห้องส่วนตัว หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน

3.ต้องสวมหน้ากากอนามัยแม้ที่อยู่ในห้องส่วนตัว แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยไม่ให้ใช้หน้ากากผ้า

4.หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร

5.หากไอจามควรอยู่ห่าผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร และให้หันหน้าไปยังทิศทางตรงข้ามกับที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย

6.ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือล้างด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ ก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับตู้เย็น ฯลฯ

7.ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ

8.การทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิว ทำความด้วยน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาว เช่น ไฮเตอร์ โดยใช้ น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วน

9.ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น

10.ซักเสื้อผ้ามารถซักด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาได้

11.การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ให้ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งขยะที่ฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำและสบู่ทันที

12.กรณีที่เป็นมารดาให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำนม แต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร

     คำแนะนำเพิ่มเติม

1.ให้คอยสังเกตอาการตนเอง โดยวัดอุณหภูมิและ oxygen saturation ทุกวัน

2.หากมีอาการแย่ลง ได้แก่ หอบ เหนื่อย ไข้สูงลอย ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่

3.เมื่อต้องเดินทางให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถที่โรงพยาบาลมารับ ให้ทุกคนในรถสวมหน้ากากอนามัยและเปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ

อ้างอิง

1.แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ฉบับ 03 มีนาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค. [เข้าถึงเมื่อ 11 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/.../int.../int_protection_030164.pdf

2.แนวทางปฏิบัติสาหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คาแนะนาผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: https://covid19.dms.go.th/.../25640702093509AM_home...

 

เพิ่มเพื่อน

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.