ยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดใช้บ่อย ๆ จะเป็นอะไรไหมนะ ??
30 Aug, 2021 / By
salacrm01
ยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดใช้บ่อย ๆ จะเป็นอะไรไหมนะ ??
ยาคุมฉุกเฉินคืออะไร ?
ยาคุมฉุกเฉิน (ตัวยา Levonorgestrel) คือยาที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์หลังจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันหรือป้องกันไม่มากเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการป้องกันการตั้งครรภ์แบบอื่น ๆ อีก เช่น การใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม (คุมได้ 91%) ยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (คุมได้ 91%) การใส่ห่วงอนามัย (คุมได้ >99%)
การคุมกำเนิดแต่ละแบบมีประสิทธิภาพต่างกันอย่างไร ?
รูปแบบการคุมกำเนิด
|
ประสิทธิภาพการคุมเนิด
|
วิธีการคุมกำเนิด
|
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้
|
การทำหมัน
|
มากกว่า 99%
|
ผ่าตัดครั้งเดียวแบบถาวร
|
เจ็บปวด
มีเลือดออก
ติดเชื้อหลังผ่าตัด
|
ห่วงอนามัย (ทองแดง)
|
มากกว่า 99%
|
ใส่โดยแพทย์ คุมได้นาน 10 ปี
|
เกร็งช่องท้อง มีประเดือนกระปิดกระปอย
|
ห่องอนามัย (Progestin)
|
มากกว่า 99%
|
ใส่โดยแพทย์ คุมได้นาน 3-5 ปี
|
ประจำเดือนกระปิดกระปอย ประจำเดือนไม่มา ปวดช่องท้อง
|
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง
|
มากกว่า 99%
|
ใส่โดยแพทย์ คุมได้นาน 3 ปี
|
รอบประจำเดือนมาไม่ปกติ อารมณ์แปรปรวน น้ำหนักเพิ่ม
|
ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด
|
94%
|
ฉีดทุก 3 เดือน
|
มวลกระดูกลดลง รอบประจำเดือนมาไม่ปกติ
ปวดศีรษะ
น้ำหนักเพิ่ม
|
ยาคุมชนิดรวม (combine pill) เช่น Minoz, Femine, Yaz
|
91%
|
กินวันละ 1 เม็ด เวลาเดิมทุก ๆ วัน
|
มีประจำเดือนกระปิดกระปอย
คลื่นไส้/อาเจียน
|
ยาคุมชนิดเดี่ยว (Progestin only) เช่น Dailyton
|
91%
|
กินวันละ 1 เม็ด เวลาเดิมทุก ๆ วัน
|
มีประจำเดือนกระปิดกระปอย
คลื่นไส้/อาเจียน
|
ยาคุมแบบแผ่นแปะ
|
91%
|
แปะ 1 แผ่นนาน 3 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์
|
มีประจำเดือนกระปิดกระปอย
คลื่นไส้/อาเจียน
ระคายเคืองผิว
|
ยาคุมกำเนิดชนิดฉุกเฉิน
|
55-85%
|
กินภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
|
ประจำเดือนกระปิดกระปอย
คลื่นไส้/อาเจียน
|
ถุงยางอนามัย
|
82%
|
ใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
|
ระคายเคืองผิว
|
ตารางที่ 1 : เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแต่ละชนิด
ยาคุมฉุกเฉินต้องใช้อย่างไร? (ยาคุมฉุกเฉินมีอะไรบ้าง กินอย่างไร)
ควรใช้ให้เร็วที่สุดหรือภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากการมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยยาคุมฉุกเฉินจะมี 2 ชนิดคือชนิด 1 เม็ดหรือ 2 เม็ด โดยชนิดแบบ 1 เม็ดจะมีตัวยา Levonorgestrel 1.5 mg กิน 1 เม็ดหลังมีเพศสัมพันธ์ และชนิด 2 เม็ดมีตัวยา Levonorgestrel 0.75 mg ต่อเม็ด ให้กินเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงและเม็ดถัดไปภายใน 12 ชั่วโมงหรือ 2 เม็ดพร้อมกันภายใน 72 ชั่วโมง
ยาคุมฉุกเฉินใช้บ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ?
ยาคุมฉุกเฉินสามารถใช้ได้ใช้มากกว่า 1 ครั้งต่อรอบประจำเดือนไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกาย ไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง และจากงานวิย แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาคุมฉุกเฉินไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตหรือการท้องนอกมดลูก และยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยครั้งทำให้เกิดการท้องนอกมดลูก แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาคุมฉุกเฉินก็ยังมีผลข้างเคียง เช่น การมีประจำเดือนมาไม่ปกติและอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายเองได้ในเวลาสั้น ๆ
โดยสรุป
การทานยาคุมฉุกเฉินสามารถทานได้มากกว่า 1 ครั้งต่อรอบประจำเดือน เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง และดีกว่าการไม่ป้องกันเลย แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาคุมฉุกเฉินนั้นมีประสิทธิภาพด้อยกว่าการคุมกำเนิดแบบอื่นๆ (ยาคุมกำเนิดแบบ 21 28 เม็ด แผ่นแปะ เป็นต้น) และการใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยครั้งจะทำให้ได้รับฮอร์โมนที่สูงจากยาทำให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่ายาคุมกำเนิดแบบรายเดือน เช่น มีประจำเดือนมากะปริบกะปรอย มากกว่า ดังนั้นการใช้ยาคุมฉุกเฉินจึงไม่ควรใช้บ่อยครั้งในระยะยาว
เรียบเรียงโดย
ภก.ธวัชชัย วงศ์สกุลวิวัฒน์
อ้างอิง
1.The American College of Obstetricians and Gynecologists. Emergency Contraception. Practice Bulletin No. 152. Obstet Gynecol 2015;126:e1–11. [Cite at 14 June 2021] Available from: https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/practice-bulletin/articles/2015/09/emergency-contraception
2.Repeated Use of Emergency Contraceptive Pills: The Facts - International Consortium for Emergency Contraception (ICEC) [Internet]. International Consortium for Emergency Contraception (ICEC). 2021 [cited 14 June 2021]. Available from: https://www.cecinfo.org/icec-publications/repeated-use-emergency-contraceptive-pills-facts/
3.Birth control chart. USFDA. 2021 [cited 19 June 2021]. Available from: https://www.fda.gov/consumers/free-publications-women/birth-control-chart