โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer) คืออะไร
07 Nov, 2022 / By
salacrm01
โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer) คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer) เกิดจากอะไร
โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer) สาเหตุยังไม่มีการสรุปแน่ชัดแต่คาดว่าเกิดจากการสะสมของ amyloid plaque ในสมอง รวมทั้งการสูญเสียสารสื่อประสาทที่มีผลต่อการจดจำ เช่น นอร์เอพิเนฟริน , เซโรโทนิน และ แอซิติลโคลีน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์(Alzheimer)
- อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น
- พันธุกรรม
- โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน
- การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคซึมเศร้า
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- โรคเบาหวานและภาวะดื้อต่ออินซูลิน
อาการ และความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์(Alzheimer)
อาการของโรคจะเป็นไปตามความรุนแรงของผู้ป่วยนั้น ๆ โดยทั่วไปสามารถแบ่งความรุนแรงของโรคได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะเริ่มต้น : ระยะนี้ผู้ป่วยยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ แต่จะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำ ๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า
- ระยะกลาง : ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลง เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น หงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย และอาจเริ่มมีปัญหาในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
- ระยะสุดท้าย : ผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวัน ไม่สามารถสนทนา หรือบอกความต้องการ หรือความเจ็บปวดของตนเองได้
การรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- การรักษาที่เน้นด้านการรับรู้ข้อมูลประมวลผลและตัดสินใจ (Cognition-oriented) เช่น การฝึกจําหน้าคน ฟังเพลงที่คุ้นเคย การวาดภาพ การเต้นรำ เป็นต้น
- การรักษาที่เน้นเรื่องอารมณณ์ (Emotion-oriented) เช่น การกระตุ้นความจําและอารมณ์ โดยใช้ประสบการณ์ชีวิตในอดีตของผู้ป่วย
- การรักษาที่เน้นการกระตุ้น (Stimulation-oriented) เช่น การเล่นเกม/เกมคอมพิวเตอร์/เกมไพ่/เกมกระดาน ดนตรีบําบัด
การรักษาโดยใช้ยา
ยา
|
ขนาดยา
|
ระยะเวลา
|
อาการข้างเคียง
|
Donepezil
|
5 mg วันละครั้ง อาจเพิ่มเป็น 10 mg วันละครั้ง
|
4-6 สัปดาห์
|
คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องเดิน ควรให้รับประทานตอนเช้าเพื่อลดการนอนไม่หลับ
|
Rivastigmine
|
1.5 mg วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น อาจจะเพิ่มครั้งละ 1.5 mg วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น จนถึงขนาดสูงสุด 6.0 mg วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
|
4 สัปดาห์
|
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักตัวลด
|
Galantamine
|
รับประทานเมื่อมีอาการ ครั้งละ 8 mg วันละครั้ง ขนาดยาสูงสุด 16 mg วันละครั้ง
|
4 สัปดาห์
|
เบื่ออาหาร คลื่นไส้น้ำหนักตัวลด
|
Memantine
|
5 mg วันละครั้ง และเพิ่ม 5 mg ทุกสัปดาห์จนถึงขนาดสูงสุด 20 mg วันละครั้ง
|
1 สัปดาห์
|
ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน สับสน ปวดศีรษะ
|
ยาอื่นๆ
- วิตามินอี 2,000 IU มีข้อมูลว่าช่วยชะลอการรับไว้ในสถานดูแลผู้สูงอายุ และการดําเนินของโรคเข้าสู่ขั้นรุนแรง รวมทั้งชะลอการเสียชีวิตเมื่อเทียบกับยาหลอก แต่มีโอกาสเพิ่มอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดถ้าได้รับขนาดมากกว่า 400 IU./day
- น้ำมันมะพร้าว มีผลช่วยเพิ่มพลังงานให้สมอง
- ยาอื่นๆ เช่น Nicergoline , Citicoline , Cerebrolysin , Piracetam ทั้งนี้ข้อมูลการศึกษายังไม่ชัดเจน
ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรเพื่อความปลอดภัยในการรักษา
เรียบเรียงโดย
ภญ.สุภัทรี นามวิชัยศิริกุล
อ้างอิง
1.ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ และคณะ.แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. สถาบันประสาทวิทยา[Internet]. 2014[เข้าถึงเมื่อ 16/08/65]. เข้าถึงจาก: https://w1.med.cmu.ac.th/family/knowledge/for-doctor/guideline/2819
2.กุศลากรณ์ ชัยอุดมสม , ภัทรี พหลภาคย์ , ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ , พงศธร พหลภาคย์ , จิตเวชศาสตร์ Psychiatry : บทที่ 23 โรคของประสาทพุทธิปัญญา (Neurocognitive Disorders). 2559
3.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, ภาวะสมองเสื่อม , คลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.เข้าถึงจาก: https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_7_008.html
4.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อม, คลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.เข้าถึงจาก: https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/network_title1_4.html