Cesium-137 (ซีเซียม-137)
13 Dec, 2023 / By
salacrm01
Cesium-137 (ซีเซียม-137)
เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ปล่อยรังสีเบต้าและแกมม่า มักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทางด้านวัสดุ ใช้ในงานวิจัยทางรังสี รวมถึงทางการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด
อาการที่พบเมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสีซีเซียม 137
หากสัมผัสโดยตรงจะมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง ในกรณีสัมผัสปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้
ข้อควรปฏิบัติหลังการสัมผัสซีเซียม 137
1.ลดการปนเปื้อน โดยล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างตา ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า ใส่ถุงปิดป่ากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรีงสีหรือไม่
2.ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนด ให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี
3.ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย
ตอนนี้เป็นที่ยืนยันแน่ชัดแล้วว่า ซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ ในจังหวัดปราจีนบุรี ได้มีการถูกหลอมหลวมกับขยะโลหะอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้การเผาไหม้กลายเป็นไอนี้ สามารฟุ้งกระจายไปได้ไกลในรัศมี 100-1000 กม. ซึ่งผลกระทบจากไอนี้ไม่ได้เกิดในระยะเวลาอันรวดเร็วเหมือนผู้สัมผัสกัมตรังสีโดยตรง แต่การที่มีการฟุ้งกระจายของไอกัมมันตรังสีซีเซียม-137 จะถูกสะสมในเนื้อเยื่ออ่อนของผู้ที่สูดดมทางอากาศ สะสมในดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงอาหาร ซีเซียม-137 มีผลทำลาย DNA ส่งเสริมให้เกิดการกลายพันธ์ของยีน และกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งไทรอยด์ ทำให้ประเทศไทยอาจมีผู้ป่วยกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
1.สมรส พงศ์ละไม. Mgronline [Internet]. กรุงเทพมหานคร. ผู้จัดการออนไลน์; 2023 [เข้าถึงเมื่อ 22 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/infographic/detail/9660000026089
2.Hfocus [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2023 [เข้าถึงเมื่อ 22 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2023/03/27282